Cultural Insights | November 14, 2024

วันลอยกระทง: รากเหง้าและการสืบสานประเพณี และความงดงามที่แท้จริง

Share

วันลอยกระทง ปีนี้ ก็ตรงกับวันที่ 15 พศจิกายน หรือก็คือ พรุ่งนี้นะเอง แม้ตั้งแต่โตมาจะไม่ได้ไปลอยกระทงมานานมากแล้ว (แต่ไปซื้อของกินในงานก็เถอะ) แต่เราก็ควรมาทำความรู้จักกับที่มาของประเพณีนี้อย่างลึกซึ้ง

วันลอยกระทง มีความเป็นมาย้อนไปได้ถึงกว่า 700 ปี เป็นเทศกาลของกลุ่มชาติพันธุ์ไทตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคาซึ่งเป็นเทวดาในคติฮินดู แต่เทศกาลนี้มีร่องรอยหลักฐานย้อนไปถึงจีนและอินเดียโบราณ

วันลอยกระทง เป็นประเพณีสำคัญที่มีมานานในประเทศไทย จัดขึ้นทุกปีในคืนวันเพ็ญเดือน 12 (เดือน 11 ตามปฏิทินจันทรคติไทย) เพื่อขอขมาต่อพระแม่คงคา และยังถือเป็นการลอยเคราะห์หรือสิ่งไม่ดีออกไปจากชีวิต โดยการนำกระทงที่ทำจากใบตอง ดอกไม้ ธูปเทียน ลงลอยน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับวันลอยกระทง

  1. ประวัติศาสตร์และความเชื่อ: ลอยกระทงมีต้นกำเนิดที่ไม่แน่ชัด บ้างกล่าวว่าเริ่มจากประเพณีบูชาแม่น้ำในอินเดีย และค่อย ๆ แพร่เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยเชื่อกันว่าเกิดขึ้นในยุคสุโขทัย โดยนางนพมาศเป็นผู้สร้างกระทงถวายพระเจ้าแผ่นดินเพื่อบูชาพระแม่คงคา
  2. รูปแบบกระทงและการพัฒนา: กระทงในอดีตทำจากใบตองและวัสดุธรรมชาติ ปัจจุบันมีการใช้วัสดุหลากหลาย เช่น ขนมปัง กะลามะพร้าว เพื่อลดการใช้โฟมและวัสดุที่ไม่ย่อยสลาย นอกจากนี้ บางที่ยังมีการสร้างกระทงขนาดใหญ่เพื่อประกวดแข่งขัน
  3. วันลอยกระทงในปัจจุบัน: การลอยกระทงกลายเป็นเทศกาลท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง มีการแสดงดอกไม้ไฟ การละเล่นพื้นบ้าน การประกวดนางนพมาศ และกิจกรรมการแสดงต่าง ๆ ที่ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล

เรื่องน่ารู้และข้อเท็จจริง

  1. ความเชื่อเรื่องการขอขมาพระแม่คงคา: คนไทยเชื่อว่าแหล่งน้ำเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และมีพระแม่คงคาที่คอยปกปักรักษา การลอยกระทงเป็นการขอขมาที่มนุษย์ได้ใช้และทำให้น้ำมีมลพิษ อีกทั้งยังเป็นการขอบคุณพระแม่คงคาที่ให้ชีวิตและความอุดมสมบูรณ์
  2. เชื่อเรื่องโชคลาภและความรัก: บางคนลอยกระทงเพื่อขอพรด้านความรัก และมีความเชื่อว่าหากคู่รักได้ลอยกระทงด้วยกันแล้วกระทงลอยไปไม่แยกจากกันจะได้ครองรักกันไปนาน
  3. การลอยกระทงที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม: มีการรณรงค์ให้ใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง ดอกไม้ ขนมปัง หรือกระทงที่ปลอดสารพิษ เพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและไม่ทำให้แม่น้ำลำคลองมีขยะเพิ่มขึ้น
    ปล. แต่การลอยกระทงที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมนั้นไม่มีอยู่จริง เพราะกระทบกับสิ่งแวดล้อมแน่นอน

คติสอนใจจากประเพณีลอยกระทง

  1. การขอบคุณและการขอขมา: การลอยกระทงสอนให้คนรู้จักขอบคุณแหล่งน้ำที่ให้ประโยชน์กับชีวิตเรา และให้สำนึกถึงการกระทำต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม การรู้จักขอบคุณและขอขมาจึงเป็นคุณค่าทางจิตใจที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  2. การปล่อยวางสิ่งไม่ดี: การลอยเคราะห์หรือสิ่งไม่ดีออกไปกับกระทง เป็นการส่งเสริมให้เรามองชีวิตในแง่บวก รู้จักปล่อยวางความทุกข์ ความกังวล หรือสิ่งไม่ดี เพื่อให้พร้อมเริ่มต้นใหม่ในปีต่อไป
  3. การอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ: ประเพณีลอยกระทงสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ สอนให้เราตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลเกี่ยวกับวันลอยกระทงจากต่างประเทศ
แม้ว่าการลอยกระทงจะเป็นประเพณีไทย แต่บางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ลาว และพม่า ก็มีการลอยกระทงในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ในลาวเรียกว่า “บุญออกพรรษา” และในพม่ามีเทศกาลลอยโคมที่เรียกว่า “ตะเดิงจาน”

ลอยกระทงในยุโรป: บางประเทศในยุโรปเช่น เยอรมนีและอังกฤษ ก็จัดเทศกาลลอยกระทงเป็นกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย โดยจัดในชุมชนไทยในต่างประเทศเพื่อให้คนต่างชาติได้รู้จักและสัมผัสประเพณีนี้

การพยายามเคลมวัฒนธรรมจากประเทศกัมพูชา

อนึ่ง ประเพณีลอยกระทงเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่ชาวเขมร ต้องการที่จะเคลมเป็นของตัวเอง เนื่องจากเป็นวัฒนธรรมที่โด่งดังและแพร่หลายอย่างมากในต่างประเทศ

** ปล. วันนี้วันที่ 14 สุขสันต์วันเกิด คุณครูแต๊กกี้ ด้วยจ้า

2


5 2 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x